การจัดการกับสินค้าค้างสต๊อก สินค้าขายไม่ออก เป็นหนึ่งในความท้าทายที่นักขายของออนไลน์ทุกคนต้องพบเจอในทุกธุรกิจ เพราะสินค้าทุกชิ้นที่กำลังค้างสต๊อกอยู่เปรียบเสมือนเงินทุนที่กำลังจะจมหายไป สั่งสินค้ามาตุนไว้มากแต่ดันขายไม่ออก ยิ่งปล่อยไว้นาน สินค้าก็ยิ่งเสื่อมสภาพลงเท่านั้น นอกจากเสียสินค้าแล้ว ยังต้องเสียทั้งเงินและสภาพจิตใจอีกด้วย ลงทุนไปไม่ได้เงินคืนสักบาท
อย่างไรก็ตาม ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ ถ้าคุณรู้วิธีจัดการบริหารสินค้าค้างสต๊อกเหล่านี้ให้ถูกวิธี อาจสามารถพลิกสถานการณ์ให้เป็นโอกาสในการเพิ่มกำไรงาม ๆ ให้ธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด นี่คือ 8 วิธีแก้ พลิกสินค้าค้างสต็อก ขายไม่ออก ให้คืนเงินเป็นกำไรในพริบตา
1. ขายแบบ “จัดเซ็ตสินค้า”

นำสินค้าค้างสต๊อกหรือของที่ขายไม่ออก มาจับรวมกันเป็นเซ็ตเพื่อขายในราคาถูกลง โดยอาจลองใช้กลยุทธ์การนำสินค้าขายดีกับสินค้าค้างสต๊อก มาจับเซ็ตคู่กันขายเพื่อเพิ่มโอกาสให้สินค้าถูกขายออกได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้คุณสามารถตั้งราคาเซ็ตสินค้าให้ถูกกว่าการที่ลูกค้าซื้อแบบแยกชิ้น เช่น หากคุณขายเครื่องสำอาง อาจรวมลิปสีที่ขายยากและลิปสีที่ขายดี Save 30%
วิธีการขายแบบนี้จะเหมาะกับสถานการณ์ที่มีสินค้าค้างอยู่ในสต๊อกเป็นจำนวนมาก และต้องการขายออกพร้อม ๆ กันในคราวเดียว
2. จัดโปรบุฟเฟ่ต์ ซื้อหลายชิ้น จ่ายคุ้มราคาเดียว

วิธีการระบายสินค้าเช่นนี้เหมาะกับการโล๊ะสินค้าค้างสต๊อกครั้งละหลาย ๆ รายการในครั้งเดียวและต้องการให้ขายออกเร็วที่สุด เช่น สกินแคร์ที่ใกล้หมดอายุ อาหาร/ขนม/สินค้าที่วันหมดอายุระบุ หรือสินค้าอื่น ๆ เพิ่มเติมที่มีแนวโน้มจะเสื่อมสภาพไว
เพราะโดยปกติแล้ว เมื่อมีโปรโมชัน “บุฟเฟ่ต์” อย่างการซื้อหลายชิ้นจ่ายราคาเดียว ลูกค้าจะรู้สึกถึงความคุ้มค่าและปริมาณที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลดีให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้มากขึ้นด้วย เช่น ซื้อ 3 ชิ้น ราคา 99 บาท, ซื้อ 5 ชิ้น ราคา 199 บาท
3. แจกเป็นของแถม ตามโอกาสต่าง ๆ

การแจกสินค้าค้างสต๊อก/ของขายไม่ออกเป็นของแถมในช่วงโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น แถมไปกับสินค้าขายดีที่ลูกค้าซื้อ หรือให้เป็นของขวัญพิเศษ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการระบายสินค้าเป็นอย่างมาก
เพราะนอกจากได้ลดราคาเพื่อระบายสินค้าแล้ว ยังสร้างความประทับใจ ความพึงพอใจ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าที่ได้รับของแถมเหล่านั้น ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อของกับคุณซ้ำอีกด้วย ในเมื่อสินค้าขายไม่ได้แต่อย่างน้อยได้ระบายออกไปบ้างก็ยังดี
4. จัดกิจกรรมพิเศษ เช่น กล่องสุ่ม

การจัดทำกล่องสุ่ม Lucky Box/Mystery Box ถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ร้านค้าสามารถนำมาใช้ในการระบายสินค้าค้างสต๊อก โดยการรวมสินค้าที่ขายออกช้าหรือค้างสต๊อกนาน ๆ เอาไว้ในกล่องแล้วขายในราคาเหมา โดยที่ลูกค้าไม่ทราบล่วงหน้าว่ากล่องนั้นจะมีสินค้าอะไรบ้าง
ถือเป็นวิธีที่สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยใช้วิธีสร้างความตื่นเต้นและความคาดหวังของลูกค้าเป็นแรงจูงใจในการซื้อ ในขณะเดียวกันร้านค้าก็สามารถระบายสินค้าเหล่านั้นในราคาที่มีโอกาสได้กำไรดี เมื่อเทียบกับการลดราคาสินค้าโดยตรง
5. สินค้ามีตำหนิ ลดจากราคาปกติสูงสุด 70%

การนำสินค้าค้างสต๊อก/สินค้าที่มีตำหนิ ไม่ผ่าน QC ออกมาขายในราคาลดพิเศษ โดยอาจนำมาลดราคาถูก ๆ เช่น ลดสูงสุดถึง 70% จากราคาปกติ ถือเป็นวิธีที่ช่วยให้ร้านค้าระบายสินค้าได้ไวขึ้น ลูกค้าจะรู้สึกว่าได้รับความคุ้มค่า แม้สินค้านั้นจะมีตำหนิเล็กน้อย แต่ด้วยราคาที่ถูกลงมาก ฃก็จะเป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ และคุณก็สามารถระบายสินค้าค้างสต๊อกไปได้ในที่สุด
หรือถ้าไม่ลดราคา คุณสามารถกำหนดราคาตามสภาพของได้ แต่ก็จำเป็นต้องแจ้งเงื่อนไขและรายละเอียดสินค้ามีตำหนิให้ลูกค้าทราบชัดเจน สินค้ามีปัญหาตรงไหน ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนคืน เป็นต้น ไม่เช่นนั้นอาจมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาในภายหลังได้
6. ไลฟ์สด เน้นให้คนรีบ CF ในราคาถูก ๆ

อีกหนึ่งวิธีที่ถ้าคุณอยากขายให้หมดโกดังเร็ว ๆ ต้องใช้วิธีนี้ช่วยระบายสินค้าค้างสต๊อก เพราะการไลฟ์สดโล๊ะสินค้าแบบนี้จะเน้นให้ลูกค้ารีบซื้อสินค้าในราคาถูก ๆ และพิมพ์รหัสเพื่อซื้อให้ทัน การจัดกิจกรรมนี้จะสร้างความตื่นเต้นและการแข่งขันซื้อให้ทันกันเองในหมู่ลูกค้า เนื่องจากมีการจำกัดเวลา นาทีทอง และปริมาณสินค้าเฉพาะไลฟ์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการขายให้หมดอย่างรวดเร็ว
ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายแพลตฟอร์มให้คุณได้ลองไลฟ์ขายของ ทั้ง Facebook, Instagrram, TikTok Shop ต่างก็ล้วนรองรับการขายแบบไลฟ์สดทั้งสิ้น
7. คิดไม่ออกแล้ว ขายขาดทุนไปเลย

เมื่อคุณรู้สึกว่ามืดแปดด้านหรือสู้จนสุดทางแล้วจริง ๆ วิธีสุดท้ายที่คุณอาจต้องหยิบมาพิจารณานั่นคือ การขายสินค้าในราคาที่ต่ำกว่าทุนหรือก็คือการ “ขายขาดทุน” นั่นเอง เช่น การจัด Flash Sale หรือ 1 แถม 1 ลดสูงสุด 90% เป็นต้น เน้นระบายสินค้าอย่างเดียว และไม่ได้กำไรคืนทุน
การขายสินค้าขาดทุนแม้จะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด แต่อาจเป็นวิธีที่จำเป็นในบางกรณี เพื่อให้ร้านค้าสามารถระบายสินค้าค้างสต็อกออกไปได้ และหลีกเลี่ยงผลกระทบจากอาการสินค้าจมทุนเสี่ยงเจ๊งได้ด้วย
8. บริจาคให้องค์กรต่าง ๆ

การระบายสินค้าค้างสต๊อกวิธีสุดท้ายที่เราอยากแนะนำ หากเป็นสินค้าที่หมดอายุเร็วหรือเก็บนานไม่ได้อย่างเครื่องสำอาง ก็สามารถนำไปบริจาคให้กับองค์กรต่าง ๆ ได้ เช่น บริจาคให้โรงพยาบาลใช้สำหรับแต่งหน้าศพ ส่วนนักขายของออนไลน์คนไหนมีสินค้าแนวอื่น ๆ ก็อาจจะพิจารณาบริจาคให้กับมูลนิธิที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้
วิธีนี้จะทำให้สินค้าที่ขายไม่ออกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ และยังส่งผลดีต่อแบรนด์ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) นอกจากนี้การบริจาคสินค้ายังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
การจัดการสต็อกสินค้าเป็นศาสตร์สำคัญอย่างหนึ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เพราะสต๊อกคือต้นทุนหลักของธุรกิจ ควรหมั่นพิจารณาถึงกำลังซื้อของลูกค้ากับปริมาณความต้องการในการขาย เพื่อให้สินค้าหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าคุณวางแผนดีและมีการจัดการสต๊อกที่ดี ก็จะช่วยให้ธุรกิจหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเงินทุนจมสินค้าได้ ทั้งยังเติบโตอย่างมีคุณภาพ

Shipnity มีระบบช่วยบริหารสต็อกสินค้า ทำให้เห็นภาพรวมสภาพคล่องของตัวเอง
สามารถไปวางแผนการสั่งสต็อกของ ลดปัญหาเงินจมสินค้าได้ รู้ว่าต้องระบายสต็อกตอนไหน และสั่งของมาเพิ่มเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอในการขาย ธุรกิจจะเป็นระบบขึ้นแน่นอน
สนใจใช้งาน มีทดลองใช้ฟรี! 14 วัน ทักเลย
https://blog.shipnity.com/stock-system-management-real-time/
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร: 065-226-8844
Facebook: facebook.com/shipnity
Line@: @shipnity