You are currently viewing ขายของช่องทางไหนให้ยอดพุ่ง

ขายของช่องทางไหนให้ยอดพุ่ง

              ทำอย่างไรให้ยอดขายของร้านเราพุ่งขึ้น ? ซึ่งส่วนใหญ่ ช่องทางขายที่แม่ค้าออนไลน์มักเลือกขายคือ เพจเฟสบุ๊ค (Facebook Page) เพียงอย่างเดียวเพราะสะดวก ง่าย มีฐานคนใช้อยู่เยอะมากแต่ในความเป็นจริงแล้วไม่จำเป็นต้องพึ่งทางเพจเฟสบุ๊คเพียงอย่างเดียว ยังมีช่องทางอื่นๆอีกมากมายที่สามารถเพิ่มยอดขายได้แบบฟรี ! หรือมีค่าใช้จ่ายแบบไม่มาก เป็นมิตรต่อร้านค้าออนไลน์ด้วย ฉะนั้น เครื่องมือต่างๆเหล่านี้สามารถสนับสนุนร้านค้าออนไลน์ รวมถึงปกป้องผู้ซื้อหรือคุณลูกค้าของเราได้ในตัว 

             ถ้าร้านค้าเราเป็นร้านค้าคุณภาพ หมั่นปรับปรุง แก้ไข มองไปในข้างหน้า ลูกค้าย่อมมีความมั่นใจมากขึ้นในการซื้อสิ้นค้าออนไลน์ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้ให้ระบบนิเวศของอีคอมเมิร์ซก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วและดีขึ้นแบบก้าวกระโดด  


              

1. Shopee

  เป็นแพลตฟอร์มช่องทางการซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ ในแพลตฟอร์มมีหมวดหมู่มากมายให้ร้านค้านำสินค้าไปลงขาย เช่น อุปกรณ์ไอที เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้า มีฐานลูกค้าจำนวนไม่น้อยเลยที่เข้ามาช็อปที่นี่ โดยแม่ค้าออนไลน์สามารถนำสินค้าของตัวเองไปลงโปรโมท จากนั้นเชื่อมโยงมายังเว็บไซต์หลัก เพจร้านค้าหลักของตัวเองได้ ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเลยนะคะ



2. Tarad ตลาด

     E-Marketplace ที่เป็นแหล่งช้อปปิ้งออนไลน์ของประเทศไทย ร้านค้าสามารถลงสินค้าได้ที่นี่เพราะมีหลากหลายรายการจากหมวดหมู่สินค้า ร้านค้าออนไลน์สามารถสร้างความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าออนไลน์ให้กับผู้ซื้อไปในเวลาเดียวกัน 




3. ขายดี KAIDEE

     คนไทยนิยมซื้อขายบนช่องทางออนไลน์แบบไม่ผ่านนายหน้ามากขึ้น และการขายใน KAIDEE เองก็น่าจะเพิ่มโอกาสเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ มากกว่ารวมทั้งได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วยกว่าด้วย ซึ่งแหล่งซื้อขายของของ KAIDEE มีทั้ง มือหนึ่ง และ มือสอง แต่ส่วนมากจะเน้นหนักที่สินค้ามือสอง การนำสินค้าไปลงขายที่นี่ สามารถเพิ่มการรับรู้แบรนด์ของร้านค้าเราได้ (Brand Awarness) 


4.eBay 

    “ตลาดค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด เปิดโอกาสให้ทุกคนเป็นเจ้าของธุรกิจได้หลายขนาด ตามความฝันและเป้าหมายของตัวเอง” แม่ค้าออนไลน์สามารถนำสินค้าของตัวเองไปลงที่นี่ได้ มีตลาดใหญ่รองรับ มีโอกาสขายของสูงมาก โดยเฉพาะตลาดในประเทศฝั่งอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลีย นอกจากนี้ eBayส่ง AI ที่เรียกว่า “eBay DataLabs” นั่นคือ ระบบจัดการข้อมูลหรือเป็นเครื่องมือที่่ช่วยให้ซื้อขายได้คล่อง สะดวกรวดเร็ว เป็นตัวช่วยที่ช่วยวิเคราะห์ตลาด แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค บรรรดาแม่ค้าออนไลน์สามารถเข้าไปลองเล่นดูได้ เพราะสมัครใช้งานฟรีนาจา



5.Amazon 

    เนื่องจากฐานลูกค้าเปิดกว้างทั่วโลก มีเว็บไซด์ retail store ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นบริษัทผู้ให้บริการช็อปปิ้งออนไลน์รายใหญ่ที่สุดในโลก มีมูลค่าตลาดมากกว่า 4.5 แสนล้านดอลล่าห์ที่มากกว่า GDP ไทยเสียอีก และสำหรับนักขายบางคนอาจมีข้อจำกัดการขายจาก ebay จึงไม่แปลกใจว่าอเมซอนเป็นอีกเว็บที่น่าจับตามอง เหมาะเหม็งในการวางขายสินค้าของเรา แต่ว่าต้องคอยอัพเดตข่าวบน Amazon ตลอด เพราะหากมีการเปลี่ยนกฏบางอย่าง อาจจะทำให้ร้านค้าเราผิดกฏ และยิ่งหากปรับตัวไม่ทันร้านก็ปลิวได้ง่ายๆ 

6.Instagram 

    เหมาะทั้งการสร้าง Brand Awareness และขายของให้ก้บกลุ่มวัยรุ่น เพราะมีฟีเจอร์ต่างๆมากมายให้ลองเล่น เช่น การโพสต์ภาพ/วิดีโอบนเดสก์ทอป, การอัปโหลดวิดีโอความยาว 60 วินาที รวมถึงมีฟังก์ชั่นอื่นๆ เช่น การแท็กบุคคล, การใช้แฮชแท็ก, การระบุสถานที่ แต่สินค้าที่เหมาะนำไปวางในช่องทางนี้ ต้องเหมาะกับวัยรุ่นพอสมควร เพราะผู้ใช้ในช่องทางนี้ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น หากอ้างอิงจากทีม Experian Hitwise พบว่า “โดยผู้ใช้ Instagram เกินครึ่งส่วนใหญ่จะมีอายุน้อย เป็นผู้ที่มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 18 – 34 ปี ในขณะที่ผู้ใช้เฟสบุ๊คจะมีกลุ่มช่วงอายุที่ใหญ่ๆอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ ระหว่าง 25 ถึง 34 ปี และ 55 ปีขึ้นไป รวมถึงการเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การโพสต์ภาพ/วิดีโอบนเดสก์ทอป, การอัปโหลดวิดีโอความยาว 60 วินาที


7.อื่นๆ

    นอกจากแหล่งดังกล่าวแล้วยังมี marketplace ที่เฉพาะทางอีกเพียบ เช่น etsy, bonanza ซึ่งตลาดส่วนมากจะเจาะกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ลองศึกษาแต่ละช่องทางดังกล่าว รับรองว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนศึกษาแน่นอน 


       อย่างไรก็แล้วแต่ แม่ค้าออนไลน์ทั้งหลายอย่าลืมศึกษารายละเอียดแต่ละเจ้าดีๆว่า Market Place แบบไหนเหมาะสมกับร้านเรามากที่สุด คุ้มค่าสุด บาง Market Place แทนที่จะทำให้ร้านเราดำเนินไปอย่างสะดวก กลับกลายเป็นว่าไม่คุ้มค่าในการใช้เอาเสียเลย รวมถึงอย่าลืมนึกถึงความเสี่ยง บริหารความเสี่ยงต่างๆให้ดี เช่น ค่าใช้จ่ายต่างๆของแต่ละเจ้าด้วย ลองเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของแต่ละเจ้าดู เพราะไม่มีใครรู้จักร้านค้าเราได้ดีที่สุดนอกจากตัวเจ้าของเอง 

     แต่ถ้าร้านค้าออนไลน์ของเรามีแบรนด์ มีตัวตนเป็นของตัวเองอย่างชัดเจนหรือหากร้านค้าที่ไม่ได้มีสินค้าตีตราแบรนด์เป็นของตัวเอง แต่ยอดขายอยู่ในระดับที่เยอะพอสมควรต่อวัน และกำลังหาช่องทางที่เพิ่มมากขึ้น แนะนำว่าควร “สร้างเว็บไซต์” จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือได้เพิ่มมากขึ้นแก่ลูกค้ารายใหม่ๆ อีกทั้งสามารถทำโฆษณาบน Google ได้ ไม่ว่า SEO หรือ SEM สิ่งเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงสู่เว็บไซต์ของเราได้ ทำให้ร้านค้าเราทั้งน่าเชื่อถือ มีตัวตน จับต้องได้ และสวยงาม และหากเว็บไซต์ร้านเราติดอันดับของกูเกิ้ลแล้วล่ะก็ ลูกค้าจากทั่วโลกจะหลั่งไหลเข้ามาได้ ถือได้ว่า นอกจากสินค้าจะจูงใจแล้วหน้าร้านก็สวยงาม  ลูกค้าไหลมาเทมา ไม่หายไปไหนแน่นอน !


เครื่องมือพร้อม  ใจพร้อม ลุย!

……………………………………………………………………..

แชร์ประสบการณ์ฉบับแม่ค้าออนไลน์ หรือมีข้อมูลดีๆมาบอกต่อ ร่วมเม้ามอยท์ พูดคุยได้ที่นี่ 
สมาคมคนขายของและบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ by SHIPNITY

(Link: https://www.facebook.com/groups/1865849733720233/?source_id=805427532888306)