การบริหาร “สต๊อกสินค้า” ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก ๆ ที่ผู้ประกอบการขายของออนไลน์ต้องใส่ใจและคอยรับมือให้ดี ตั้งแต่การวางแผนสั่งสินค้าอย่างไรให้พอดีกับความต้องการซื้อของลูกค้า ไปจนถึงการปล่อยระบายสินค้า จัดเก็บ หรือสั่งของเท่าไหร่ถึงจะช่วยประหยัดต้นทุนให้ธุรกิจได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้ต้นทุนจมไปกับสินค้า และนำมาซึ่งกำไรให้กับธุรกิจคุณ
จึงนับได้ว่าเป็นงานท้าทายขั้นสุดยอดที่คุณต้องผ่านไปให้ได้ โดยเฉพาะเจ้าของมือใหม่ที่เพิ่งมาจับงานขายของ หรือแม้แต่ผู้ประกอบการมือเก่าก็คงรู้อยู่เต็มอกว่า ถึงแม้คุณจะมีประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวมาก่อน แต่ก็อาจพลาดให้กับการจัดการสต๊อกสินค้าบางอย่างไปได้เช่นเดียวกัน
แต่วันนี้ Shipnity ได้มัดรวม 4 กับดักสัญญาณเตือนเรื่อง “สต๊อกสินค้า” ที่เจ้าของธุรกิจชอบลืมคิดถึง จะได้เตรียมตัวเช็กตัวเองและรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ทัน เพราะถ้าหากเดินเกมพลาดแม้เพียงนิดเดียว ในระยะสั้นอาจไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบมากนัก แต่ระยะยาวก็มีผลต่อความเสี่ยงที่น่ากลัวไม่น้อย
สัญญาณเตือนที่ 1 : ขาดการนับสต๊อกสินค้าบ่อย ๆ
สำนวนที่ว่า “น้ำขึ้นให้รีบตัก” คงจะกล่าวไม่เกินจริง สำหรับร้านค้ามือใหม่เจ้าของธุรกิจที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นและรีบกอบโกยกำไรอย่างสุดกำลัง ใจมันสักแต่อยากขายอย่างเดียว จึงสั่งผลิตสินค้าเพิ่มกับซับพลายเออร์แบบเต็มกำลัง เน้นขายต่อไปไม่มีพัก แต่เพราะมัวแต่ขายเอา ๆ จนไม่สนว่าของในคลังมีสินค้าเหลือกันเท่าไหร่แล้ว จึงละเลยการนับสต๊อกอัปเดตสินค้า ทั้งที่จริงแล้วการนับสต๊อกสินค้าอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก เพราะมันจะทำให้คุณรู้ความเคลื่อนไหวสถานการณ์คลังสินค้าของตนเอง รวมถึงสต๊อกสินค้าทุกชิ้นที่มีอยู่อย่างเป็นปัจจุบัน
ล็อตนี้เหลือเท่าไหร่ ล็อตเก่า ๆ ถึงเวลาปล่อยของเพื่อคืนทุนหรือยัง? เพื่อให้คุณได้ทราบความเป็นไปได้ในการวางแผนคาดการณ์การจัดการได้อย่างเป็นสเต็ป ทั้งการปล่อยสินค้าค้างสต๊อก ลดอาการเงินจมทุน ไปจนถึงการวางแผนสั่งของเพิ่มเพื่อการสั่งของมาสต๊อกขายใหม่ การนับสต๊อกอัปเดตบ่อย ๆ ก็จะช่วยให้คุณขายต่อเนื่องแบบไม่สะดุด ไม่เสียโอกาสในการขาย และประหยัดต้นทุนได้อีกมากเลยทีเดียว
สัญญาณเตือนที่ 2 : ไม่เก็บข้อมูลสต๊อกสินค้า ไม่มีบันทึกย้อนหลัง
ผู้ประกอบการหลายคนมักคิดว่า การเก็บประวัติข้อมูลสต๊อกสินค้าและออเดอร์เป็นเรื่องที่เสียเวลาและเปลืองแรงโดยไม่จำเป็น ต้องพุ่งเป้าไปที่การขายสินค้าให้ได้ แพ็กของ ส่งของให้ลูกค้า ได้กำไรแล้วก็จบแล้ว บอกเลยว่าถ้าคุณกำลังคิดแบบนี้อยู่ เตรียมตัวนอนรอวันพังได้เลย! เพราะการเก็บประวัติบันทึกย้อนหลังเอาไว้ มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด โดยเฉพาะในวันที่คุณโดนลูกค้าให้ 1 ดาว
นึกภาพตามหากคุณขายของออนไลน์แล้วมีการรันออเดอร์ แพ็กของ และส่งสินค้าไปให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้ว แต่สินค้าล็อตนั้น ๆ ดันมีปัญหาตำหนิชำรุด ลูกค้าขอตีกลับสินค้า ถ้าคุณไม่มีการเก็บข้อมูลคลังสต๊อกสินค้า ก็จะเรียกดูประวัติใด ๆ ไม่ได้ เพราะคุณไม่มีการบันทึกประวัติออเดอร์ สินค้านั้น ๆ ว่าผ่านมือใครมาบ้าง รวมไปถึงซับพลายเออร์ที่สั่งของมา นอกจากแก้ปัญหาไม่ได้ ตามต้นตอไม่ได้ หาคนมารับผิดชอบแทนไม่ได้แล้ว สิ่งที่คุณจะได้กลับมา คือ ขาดทุน ร้านเสียชื่อ และดาวลดลงอย่างน่าตกใจเลยทีเดียวเชียว
ดังนั้นทางที่ดีที่สุด คือ การเก็บประวัติทุกอย่างเอาไว้ เมื่อถึงเวลาที่จำเป็นต้องใช้จะได้ไม่ลำบากเกินตัว ซึ่งปัจจุบันก็มีวิธีเก็บข้อมูลหลากหลายแบบ บางร้านค้าถนัดเก็บใน Excel บางร้านค้าก็มีระบบจัดการหลังบ้านคอยช่วยอยู่อีกแรง
สัญญาณเตือนที่ 3 : สต๊อกจดมือแมนนวล ไม่เป็นระบบ พนักงานทำงานยาก
คุณกำลังใช้ Excel จัดการสต๊อก บันทึกออเดอร์ลูกค้าอยู่ใช่หรือไม่?
ถ้าใช่ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผิดแต่อย่างใด เพราะการใช้โปรแกรม Excel ถือเป็นทางเลือกที่อาจจะตอบโจทย์มือใหม่ในช่วงแรกของการทำธุรกิจ เพราะเป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายและคนมักจะนึกถึงเป็นอันดับแรก ๆ ในการจดและอัปเดตสต๊อกสินค้า แต่ถ้าสเกลธุรกิจร้านคุณใหญ่มากขึ้น มีออเดอร์ในแต่ละวันเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว การจัดการแมนนวลจดมือผ่าน Excel นั้นอาจไม่เพียงพอแล้ว
เพราะมันจะทำให้คุณปวดหัวกับการคีย์ข้อมูล การใส่สูตร ทั้งยังต้องหัวเสียอยู่บ่อย ๆ กับการกรอกตัวเลขผิด รวมถึงรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ถ้าพลาดล่ะก็ ระบบคลังสินค้าสต๊อกคุณอาจรวนจนกู่ไม่กลับได้เลย
ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ ร้านค้าก็หันไปพึ่งพาระบบหลังบ้าน หรือ AKA ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่มีตัวช่วยให้จัดการสต๊อกสินค้าง่ายขึ้น อย่างระบบ Shipnity เองก็เป็นระบบจัดการหลังบ้านที่ช่วยให้คุณจัดการสต๊อกและออเดอร์ลูกค้าได้ง่ายขึ้น อัปเดตให้อัตโนมัติ คุณไม่ต้องมานั่งใส่สูตรให้ปวดหัวอีกต่อไป
ทั้งยังช่วยบันทึกประหยัดสต๊อกย้อนหลัง จัดเก็บข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับการขายให้ร้านคุณเป็นระบบมากขึ้นอีกด้วย
สัญญาณเตือนที่ 4 : ไม่จัดการสินค้าคงเหลือ ไม่รู้สต๊อกไหนเข้ามาก่อน
สินค้าเข้าก็วางไว้ในกองดอง ไม่จัดการสต๊อกสินค้าให้เป็นระบบระเบียบ
ไม่ยอมเรียงสต๊อกสินค้าตามวัน-เวลาที่นำเข้ามา สินค้าเหลือในคลังเท่าไหร่ มีกี่ชิ้น ไม่เคยจดหรือจัดวางเป็นหลักแหล่ง พอสินค้าใหม่เข้าปุ๊บ ก็ขายแต่สต็อกของใหม่ ๆ สต๊อกเก่าไม่ได้เอามาขาย เมื่อขายไม่ได้บ่อย ๆ สต๊อกของค้าง ขายไม่ออก ระบายไม่ได้ เงินจมทุนตามไปอีก โดยเฉพาะบางร้านค้าที่ขายของมีวันหมดอายุ
และมีของที่เสื่อมสภาพได้ง่ายที่ต้องระมัดระวังเรื่องนี้ให้มากเป็นพิเศษ
ดังนั้นการจัดระบบให้รู้ว่า สินค้าชิ้นไหนเข้ามาก่อน-ต้องรีบขายออกก่อน ก็จะทำให้คุณได้เปรียบในการระบายขายสินค้าได้ทันการณ์ ไม่ต้องเสียต้นทุนไปเปล่าประโยชน์ ทุนไม่จมสินค้า แต่ถ้าคุณกำลังเป็นเหมือน 4 ข้อข้างต้นล่ะก็บอกเลยว่า…นอนรอวันเจ๊ง เป็นแน่!
สัญญาณเตือน 4 ข้อดังกล่าว ก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการมือใหม่มักจะพลาดกันบ่อย ๆ รวมไปถึงมือเก่าที่บางครั้งก็ละเลยในหลาย ๆ เรื่อง อย่าลืมวางแผนจัดการสต๊อกสินค้าให้ดีเป็นระบบ นอกจากเรื่องการเช็กความสม่ำเสมอ จดบันทึก และความรอบคอบแล้ว
การมีโปรแกรมหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างระบบหลังบ้าน Shipnity ให้เข้ามาช่วยบริหารจัดการร้านค้า ก็จะทำให้คุณทำงานสะดวกสบาย ง่ายขึ้น เพราะระบบสต็อกสินค้าจะครอบคลุมทุกการขายของออนไลน์ ตั้งแต่ระบบที่อัปเดตให้อัตโนมัติ Real-Time การเก็บประวัติสต๊อกสินค้า รวมไปถึงการเพิ่มสินค้า SKUs ที่ไม่จำกัด ให้คุณวางแผนระบายสินค้าค้างสต๊อกได้ทัน และเติมของได้ถูกเวลา ต้นทุนไม่จมไปกับสินค้า ดูแลธุรกิจได้อย่างราบรื่นขึ้นแน่นอน !
ให้ Shipnity เป็นผู้ช่วยที่รู้ใจของคุณ ราคาแพ็กเกจเริ่มต้น 890.-
มีให้ทดลองฟรี ! 14 วัน > https://blog.shipnity.com/stock-system-management-real-time/
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
โทร: 065-226-8844
Facebook: facebook.com/shipnity
Line@: @shipnity