You are currently viewing ภาษีขายของ แม่ค้าออนไลน์เตรียมรับมือ

ภาษีขายของ แม่ค้าออนไลน์เตรียมรับมือ

       เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยนี้ที่เชื่อมโลกเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ลูกค้าสามารถเอื้อมถึงสินค้าได้ทั่วทุกมุมโลก และการขายของออนไลน์เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ จากการเรียนและการทำงานประจำ  ถ้าเป็นสมัยก่อน ช่วงที่กระแสการขายของออนไลน์ยังไม่บูมนัก บรรดาร้านค้าออนไลน์สามารถขายของกันได้สบายๆ เพราะไม่ค่อยมีการแข่งขันสูงเท่าไหร่ และสรรพากรยังมือใหม่สำหรับเรื่องการขายของออนไลน์ แต่ตรงข้ามกับในปัจจุบัน การขายของออนไลน์มีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าเราจะเข้าแพลตฟอร์มไหน เช่น Facebook , IG เลื่อน Feed แต่ละครั้งก็พบเจอร้านค้าออนไลน์ทั้งแถบ สรรพากรเล็งเห็นตรงนี้ ก็ต้องมีจับตามองบ้างล่ะ เรามาเตรียมรับมืออย่างคร่าวๆกันดีกว่า

(Photo : https://unsplash.com/Clarisa Guerra)

ทำความเข้าใจภาษีเบื้องต้นกันก่อน

1.ภาษีเงินได้

โดยปกติทั่วไปแล้ว คนเราต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อเรามีรายได้จากงานต่างๆ เช่น งานประจำ งานรับจ้าง

2.ภาษีนิติบุคคล 

หากเราจัดตั้งบริษัทเป็นของตัวเอง เราต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทนิติบุคคลหรือเป็นห้างหุ้นส่วน และเมื่อเราดำเนินกิจการจนสามารถมีกำไร และผ่านการหักลบต้นทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ จนกลายเป็นกำไรสุทธิแล้ว เราจะต้องเสียภาษีนิติบุคคล * แต่ถ้าบริษัทเราประสบปัญหาขาดทุน เราก็ไม่ต้องเสียภาษีส่วนนี้นะจ๊ะ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต้องเสียภาษีในส่วนนี้

3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 

ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต้องเสียภาษีในส่วนนี้ 

หลักเกณฑ์รายได้ในการเสียภาษี

1.รายได้เกิน 1,800,000 บาท/ ปี  : เสียภาษีบุคคลธรรมดา + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากเรามีรายได้เกินจากตัวเลขนี้ เราจำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถบวกเพิ่มจากลูกค้าได้เลย 
เมื่อลูกค้าซื้อสินค้าจากเรา ลูกค้าจะต้องจ่าย 1000+70=1070 บาท (ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%)

2.รายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาท/ ปี : เสียภาษีบุคคลธรรมดาอย่างเดียว

การขายของออนไลน์กับการเสียภาษี ? 

     เมื่อตรวจสอบดูตามกฎหมายแล้ว การขายของออนไลน์ถือว่าจัดอยู่การเสียภาษีประเภทที่ 8 เงินได้ประเภทอื่นๆ
 ดังนั้นร้านค้าออนไลน์ต้องทำการเสียภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี 
1.แบบเหมารวมอัตรา 60 % ของรายได้  
2.แบบความจำเป็น หรือตามความเหมาะสม 

ส่วนที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้ว นำมาลดหย่อนภาษีตามกฎหมายได้ เพื่อนำมาคำนวนเงินได้สุทธิในขั้นถัดไป 
นอกจากนี้เรายังสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการคำนวนภาษีได้ด้วย และช่วยวางแผนภาษีที่เฉพาะเจาะจงสำหรับตัวเรา หาตัวเลือกที่เราสามารถลดหย่อนภาษีได้
เพราะสมัยนี้มีสตาร์ทอัพที่ฉมังเรื่องภาษี นั่นคือ iTAX (แปะลิ้งค์ https://www.itax.in.th/ ) บรรดาแม่ค้าออนไลน์สามารถเข้าไปหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีได้ด้วยนะ 


วิเคราะห์รายได้ของแม่ค้าออนไลน์ด้วยตัวเองกับการเสียภาษีแบบขั้นบันได 

เราสามารถตรวจเช็คฐานเงินเดือนและดูตามตารางได้เลย

โดยสรุปหลักๆคือประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษีอีกครั้งเมื่อปี 2560 แกนหลักของโครงสร้างภาษีที่เปลี่ยนคือ 

1.เพิ่มการลดหย่อนภาษีส่วนตัว เพิ่มเป็น 60,000 บาท 

2.เพิ่มสิทธิหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาเพิ่มเป็น 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

           การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด การหลบเลี่ยงอาจจะทำให้เราโดนปรับได้ แต่ทว่าหากเราจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง และมีการลดหย่อนภาษีตามกฎหมายที่ดี ย่อมดีกว่านั่งทุกข์ใจเมื่อกรมสรรพากรเรียกเก็บย้อนหลังน้าาา แถมยังต้องจ่ายแพงอย่างหูฉี่ กำไรที่เคยทำมาแทบจะหมดไปกับการจ่ายภาษี ไม่เช่นนั้นเราคงไม่เห็นกระทู้ขอความช่วยเหลือตอนกรมสรรพากรเรียกเก็บย้อนหลังเป็นแน่

……………………………………………………………………..

แชร์ประสบการณ์ฉบับแม่ค้าออนไลน์ หรือมีข้อมูลดีๆมาบอกต่อ ร่วมเม้ามอยท์ พูดคุยได้ที่นี่ 
สมาคมคนขายของและบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ by SHIPNITY

( Link : https://www.facebook.com/groups/1865849733720233/?source_id=805427532888306)


ขอบคุณความรู้ดีๆจาก 

-ดร.ยุทธนา อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร
– www.itax.in.th