คำถามพบบ่อย และวิธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นง่าย ๆ บน Shipnity

คำถามพบบ่อย (FAQs)

– แพ็กเกจแต่ละแพ็กเกจต่างกันอย่างไร แพ็กเกจไหนเหมาะกับใคร
– การสมัครแพ็กเกจ สามารถสมัครด้วยตัวเองได้อย่างไร

– เครดิตคืออะไร เติมอย่างไร
– วิธีการเชื่อมช่องทางต่าง ๆ (Facebook / Facebook Live / LINE OA / Shopee / Lazada / TikTok Shop / LINE SHOPPING / WooCommerce / Shopify)
– Stock ไม่อัพเดทแก้ไขยังไงดี
– ออเดอร์ Marketplace ไม่เข้า Shipnity ทำยังไงดี
– เปิดออเดอร์ผ่าน LINE OA ไม่ได้
– ยืนยันการส่งของไม่ได้
– ออเดอร์ไม่ปิดรายการให้อัตโนมัติ
– ขนส่งที่เชื่อมต่อได้ และเรทค่าส่ง
– เพิ่มผู้ใช้งานไม่ได้
– ส่งข้อความที่หน้าแชท/ไลฟ์ไม่ได้
– ออกใบกำกับภาษียังไง
– ทำไมสต็อกติดลบแล้วสั่งสินค้าเข้ามาได้
– เพิ่มคลังแล้ว แต่ยังไม่สามารถใช้งานคลังสินค้าที่มาใหม่ได้
– เชื่อม Shopee, Lazada อีกร้านทำยังไง
– ออเดอร์ที่อนุมัติการโอนแล้วดูสลิปตรงไหน
– กดยืนยันการส่งของทั้งหมดได้ไหม
– พิมพ์ทุกรายการได้ไหม
– ตั้งค่าสิทธิ์แอดมินยังไง

คู่มือการใช้งานฟังก์ชันอื่น ๆ เพิ่มเติม : https://blog.shipnity.com/

แพ็กเกจแต่ละแพ็กเกจต่างกันอย่างไร แพ็กเกจไหนเหมาะกับใคร

แพ็กเกจของระบบ Shipnity จะมีทั้งหมด 5 แพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะเหมาะกับร้านค้าที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น
1. แพ็กเกจ Quite Pro 890 บาทต่อเดือน เหมาะสำหรับร้านค้าออนไลน์มือใหม่ ขายทางช่องแชทหรือเปิดออเดอร์เองเป็นหลัก และอยากเริ่มต้นหรือเพิ่งเริ่มขายใน Marketplace บ้างแล้ว
2. แพ็กเกจ Turn Pro 1,190 บาทต่อเดือน เหมาะสำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการขายหลายช่องทางมากกว่าทางแชท และมีร้าน Marketplace มากกว่า 1 ร้าน รวมถึงต้องการขยายช่องทางการขายของตัวเองเพิ่ม เราจะมี Sale Page ให้ในแพ็กเกจนี้ และหากต้องการระบบตัวแทนจำหน่ายแพ็กเกจนี้ก็จะเป็นแพ็กเกจเริ่มต้นสำหรับการใช้งานฟังก์ชันตัวแทนเลยค่ะ
3. แพ็กเกจ Truly Pro 1,590 บาทต่อเดือน เหมาะสำหรับแม่ค้าไลฟ์สดช่วงเริ่มต้น เริ่มมีออเดอร์เข้ามาหลายบ้านมากขึ้น ต้องการระบบเข้ามาช่วย และอาจจะมีการเริ่มขยายไปในช่องทาง Marketplace รวมถึงอยากสร้างเว็บไซต์ของตัวเองอย่างง่าย แพ็กเกจนี้จะค่อนข้างครอบคลุมค่ะ นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานระบบตัวแทนจำหน่ายได้ด้วยนะคะ
4. แพ็กเกจ Extremely Pro 1,990 บาทต่อเดือน เป็นแพ็กเกจแบบไม่จำกัดทุกฟังก์ชันการใช้งาน สามารถใช้ได้ไม่จำกัดสำหรับร้านค้าขนาดใหญ่ หรือบริษัทที่ต้องการระบบมาช่วยจัดการด้านออเดอร์และสต็อกเป็นหลัก ช่วยให้การทำงานเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น
5. แพ็กเกจ Private Live 4,990 บาทต่อเดือน เหมาะสำหรับร้านใหญ่ ไลฟ์สดดูดคอมเมนต์ทั้งบน Facebook หรือ Instagram เป็นหลัก ด้วย Server ส่วนตัว ช่วยให้ดูดคอมเมนต์ได้เร็วขึ้น ส่งข้อความสรุปยอดให้ลูกค้าได้ไวขึ้น และใช้งานทุกฟังก์ชันได้แบบไม่จำกัด!

แพ็กเกจแต่ละอันจะแตกต่างกันที่ฟังก์ชันการใช้งาน จำนวนแอดมิน และจำนวนคลังสินค้าที่จะได้รับ ตัวอย่างเช่น หากต้องการเชื่อมต่อแชทจะเริ่มต้นที่แพ็กเกจ Quite Pro 890 บาทต่อเดือน แต่ถ้าอยากต้องการ Sale Page เพื่อเพิ่มช่องทางการขายของร้านค้าจะเริ่มต้นที่แพ็กเกจ Turn Pro 1,190 บาทต่อเดือนได้เลย

การสมัครแพ็กเกจ สามารถสมัครด้วยตัวเองได้อย่างไร 

หากยังไม่เคยทดลองใช้งานระบบ ร้านจะต้องทำการสมัครสมาชิกในหน้า: https://www.shipnity.com/authen/register ให้เรียบร้อยก่อน เสร็จแล้วเข้าไปที่หน้าตั้งค่า >> ข้อมูลร้านค้า จะสามารถกดที่ “สมัครแพ็กเกจ” และเลือกแพ็กเกจที่ต้องการพร้อมชำระเงินด้วยตัวเองได้เลย

เครดิตคืออะไร เติมอย่างไร

‘เครดิต (Credit)’ คือ เงินในระบบที่สามารถใช้เป็นค่าขนส่งในกรณีส่งผ่านระบบ (Shipnity Express), ตรวจสลิปอัตโนมัติ และส่งข้อความ SMS เมื่อมีการทำรายการดังกล่าว ระบบจะทำการตัดเครดิตที่เติมเข้ามาในระบบเป็นค่าบริการ ซึ่ง 1 บาท จะเท่ากับ 1 เครดิต โดยร้านค้าสามารถเติมเครดิตได้ง่าย ๆ ตามขั้นตอนนี้เลย: https://blog.shipnity.com/addcredit-new/

สต็อกสินค้าไม่อัพเดทแก้ไขยังไงดี ?

กรณีสต็อกสินค้าไม่อัพเดทไปที่ Marketplace ร้านค้าสามารถเช็คได้ด้วยตนเองง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนดังนี้ 

1. ตรวจสอบการตั้งรหัสสินค้าว่าตั้งตรงกันทุกช่องทางแล้วหรือไม่ 

– สำหรับช่องทาง Shopee, LINE SHOPPING จะมีรหัส Parent SKU (รหัสสินค้าหลัก) และ SKU (รหัสสินค้าย่อย) จะต้องตั้งค่าให้ตรงกันระหว่างใน Marketplace และใน Shipnity สามารถศึกษาการตั้งค่ารหัสสินค้าผ่านคู่มือด้านล่างนี้ได้เลย
Shopee, Lazada: https://youtu.be/z3pAUceYICM 
LINE SHOPPING: https://blog.shipnity.com/manage-order-stock-line-shopping-shipnity/ 
– สำหรับช่องทาง TikTok Shop นอกจากจะต้องตั้งรหัสสินค้าให้ตรงกัน ร้านค้าจำเป็นต้องตั้งชื่อสินค้าหลักและชื่อสินค้าย่อย ให้ตรงกันทั้งใน TikTok Shop และใน Shipnity ด้วย สามารถศึกษาการตั้งค่ารหัสสินค้าผ่านคู่มือด้านล่างนี้ได้เลย
TikTok Shop: https://blog.shipnity.com/shipnity-tiktok-all/ 

2. หากตรวจสอบพบว่ารหัสสินค้าตรงกันเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นการอัพเดทและ Active การเชื่อมต่อ แนะนำให้เติมสต็อกสินค้าที่หลังบ้าน Marketplace และทำการทดลองสั่งสินค้าได้เลย เมื่อออเดอร์เข้ามาแล้วให้เช็คว่าตัดสต็อกสินค้าถูกตัวหรือไม่ จากนั้นกดลบออเดอร์ออกได้ สต็อกสินค้าใน Shipnity จะเริ่มอัพเดทไปยัง Marketplace ให้หลังจากนี้เลย
*ข้อควรระวัง ในการทดลองสั่งสินค้าของร้านเองไม่ควรใช้อุปกรณ์เดียวกันกับที่ Log In Seller Center ของ Platform

ออเดอร์ Marketplace ไม่เข้า Shipnity ทำยังไงดี

คุณลูกค้าสามารถไปที่หน้าตั้งค่า > เชื่อมต่อระบบอื่น > Marketplace ที่ต้องการให้ออเดอร์เข้า แล้วตรวจสอบฟังก์ชัน เชื่อมต่อออเดอร์ จาก Marketplace เข้า Shipnity ว่าเปิดฟังก์ชันนี้ไว้เรียบร้อยแล้วหรือยัง หากยังไม่เปิดให้เปิดได้เลย ออเดอร์จะเข้ามาในระบบเพื่อตัดสต็อกให้ แต่หากเปิดไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ออเดอร์ยังไม่เข้าให้ทางร้านลองตรวจสอบดังนี้ 

1. ไปที่หน้าประวัติ > ค้นหาเลขที่ Marketplace ในแถบข้อมูลทั่วไป หากพบแสดงว่าออเดอร์เข้ามาแล้ว 
2. ไปที่หน้าประวัติ > ค้นหาเลขที่ Marketplace ในแถบออเดอร์ที่ลบ หากพบแสดงว่าออเดอร์เข้ามาแล้ว แต่อาจถูกลบไปด้วย User หรือจาก Marketplace เอง 
3. หากไม่พบออเดอร์เลย ให้กลับมาที่หน้าตั้งค่า > เชื่อมต่อระบบอื่น > Marketplace ที่ต้องการอีกครั้ง แล้ว Re-log in การเชื่อมใหม่ แล้วรอประมาณ 20-30 นาที หากออเดอร์ยังไม่เข้าให้กด “ดึงข้อมูล” แล้วเลือกวันที่ที่ต้องการเพื่อดึงออเดอร์เข้ามาได้เลย

เปิดออเดอร์ผ่าน LINE OA ไม่ได้

คุณลูกค้าสามารถไปที่หน้าการตั้งค่า > เชื่อมต่อระบบอื่น > เชื่อมต่อช่องทางจำหน่าย > กดแถบ Facebook จากนั้น Logout /Login 1 ครั้ง
แล้วกลับมาที่ chat.line.biz เพื่อเปิดออเดอร์อีกครั้งตามคู่มือนี้ได้เลย:
https://blog.shipnity.com/setting-line-oa/ หากยังพบว่ายังไม่สามารถเปิดได้ให้ถอนการติดตั้ง extension และโหลดใหม่อีกครั้ง
https://chromewebstore.google.com/detail/shipnity-for-line-oa/ddhmbdifcjlncjohaladgangcicpdpad?hl=th&pli=1

ยืนยันการส่งของไม่ได้

หากยืนยันการส่งของไม่ได้ แนะนำวิธีการตรวจสอบดังนี้ 

1. ออเดอร์ใส่ครบทั้งชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร โดยที่อยู่จะต้องเป็นภาษาไทย ครบถ้วนทั้งตำบล อำเภอ จังหวัด และรหัสไปรษณีย์
2. ตรวจสอบความถูกต้องของที่อยู่ ทั้งชื่อตำบล อำเภอ จังหวัด และรหัสไปรษณีย์
3. หากเป็นขนส่งที่ตัดเครดิตเป็นค่าส่ง เช่น Flash และ EMS จะต้องตรวจสอบเครดิตคงเหลือในหน้าตั้งค่า > ข้อมูลร้านค้าอีกครั้ง ว่ามีเพียงพอหรือไม่ (ต้องมีอย่างน้อย 30 เครดิตต่อการยืนยันการส่งของ 1 ออเดอร์)
4. หากเป็นขนส่งที่ต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบก่อน เช่น J&T และ Shopee Xpress ต้องตรวจสอบการเชื่อมต่อให้เรียบร้อย โดย
– J&T ทางร้านสามารถนำ Shop name และ Shop id จากหน้าตั้งค่า > การขนส่ง > เปิดใช้งาน J&T Express แล้วแจ้งทางสาขาให้เชื่อมกับเลข VIP ของร้านได้เลย
– Shopee Xpress ทางร้านสามารถนำรหัสของทางร้านมาใส่ใน หน้าตั้งค่า > การขนส่ง > เปิดใช้งาน Shopee Xpress เพื่อเชื่อมต่อระบบได้เลย 5. หากออเดอร์เป็น Flash COD ทางร้านจะต้องเคยมีการเปิดใช้งาน Flash COD กับทางระบบ Shipnity ก่อน จึงจะสามารถใช้งานได้

ออเดอร์ไม่ปิดรายการให้อัตโนมัติ

สำหรับออเดอร์ที่ไม่ปิดรายการอัตโนมัติแม้จัดส่งของแล้ว จะมีสาเหตุดังนี้ 

1. ออเดอร์ขึ้นคำว่า ‘สินค้าหมด’ เมื่อสินค้าไม่เพียงพอ ระบบจะไม่สามารถปิดรายการได้ แนะนำให้กดที่ปุ่ม “รายการสินค้า” จะขึ้นแว่นขยายสีแดง หน้ารายการสินค้าที่ของหมด จากนั้นคุณลูกค้าสามารถเติมสต็อกได้เลย ระบบจะทำการปิดรายการให้อัตโนมัติ
2. ออเดอร์จาก Marketplace ที่จัดส่งแล้วแต่ยังไม่ได้ปิดรายการ อาจจะเป็นเพราะ API หลุดการเชื่อมต่อขณะที่อัพเดทค่าปิดรายการมายังระบบ Shipnity สามารถแจ้งเป็นเลขที่ออเดอร์ให้เจ้าหน้าที่ได้เลย เมื่อถึงวันเปิดทำการจะดำเนินการปิดรายการย้อนหลังให้โดยเร็วที่สุด
3. ทางร้านเลือกวิธีการจัดส่งแบบส่งผ่านระบบ แต่นำไปจัดส่งเองด้วยการออกเลขพัสดุใหม่ ทำให้เลขพัสดุที่ออกโดย Shipnity ไม่ถูกสแกนเข้ารับ สามารถกดปุ่ม “แก้ไข” ของออเดอร์ จากนั้นเลือกวิธีการจัดส่งแบบจัดส่งเอง และกดปุ่ม “ปิดรายการ” ได้เลย

แต่ถ้าหากว่าคุณลูกค้าเปิดใช้ส่งผ่านระบบ Shipnity Express เป็นค่าเริ่มต้นอยู่ และต้องการแก้ไขออเดอร์ให้เป็นส่งเอง สามารถไปที่ ตั้งค่า >> ตั้งค่าขนส่ง >> ปิดแถบ ใช้ส่งผ่านระบบ (Shipnity Express) เป็นค่าเริ่มต้นก่อน หลังจากปิดฟังก์ชันแล้ว หากกดเข้าไป “แก้ไข” ออเดอร์อีกครั้งจะมีให้เลือกวิธีจัดส่งเป็น “จัดส่งเอง” ค่ะ แล้วจะสามารถกดปุ่ม “ปิดรายการ” ได้ หลังจากแก้ไขออเดอร์นี้เสร็จแล้ว ก็กลับไปเปิดแถบ ใช้ส่งผ่านระบบ (Shipnity Express) เป็นค่าเริ่มต้นได้เหมือนเดิม

ขนส่งที่เชื่อมต่อได้ และเรทค่าส่ง

ระบบสามารถเชื่อมต่อขนส่งได้ทั้งหมด 5 ขนส่งด้วยกัน ได้แก่ Flash Express, J&T Express, Kerry Express, Shopee Xpress และ EMS ไปรษณีย์ไทย โดยเรทค่าขนส่งจะเป็นเรทตามลิ้งก์นี้เลย: https://blog.shipnity.com/express-courier/

เพิ่มผู้ใช้งานไม่ได้

การเพิ่มผู้ใช้งานไม่ได้ อาจมีได้จาก 2 สาเหตุ คือ 

1. เพิ่ม User เกินจำนวน User ของแพ็กเกจที่ใช้งานอยู่ จึงทำให้เพิ่มผู้ใช้งานไม่ได้
โดยทางร้านสามารถเช็คจำนวน User ที่ใช้งานได้ของแต่ละแพ็กเกจได้ที่: 
https://package.shipnity.com/?from=pro
ตรงจำนวน Admin (แพ็กเกจทดลองใช้มีได้สูงสุด 3 users) และหากต้องการเช็คแพ็กเกจที่ใช้งานสามารถเช็คได้ที่ หน้าตั้งค่า > ข้อมูลร้านค้า
2. อีเมลที่ต้องการเพิ่มผู้ใช้งานซ้ำกับอีเมลที่มีในระบบ Shipnity โดยอาจซ้ำกับร้านค้าอื่น หรือซ้ำกับอีเมลตัวแทนจำหน่าย ให้ทางร้านลองเปลี่ยนไปเป็นอีเมลอื่น ๆ แล้วเพิ่มผู้ใช้งานได้เลย

ส่งข้อความที่หน้าแชท / ไลฟ์ไม่ได้

สำหรับคุณลูกค้าที่ไม่สามารถส่งข้อความผ่านหน้าแชท/ไลฟ์ผ่านระบบ Shipnity ได้ สามารถกดที่ปุ่มสัญลักษณ์สีแดง ข้าง ๆ ข้อความ ‘ส่งข้อความล้มเหลว’ จากนั้นแคป Error ที่แสดงผลให้ทางเจ้าหน้าที่ได้เลย
ระหว่างที่เป็นช่วงปิดทำการ อาจจะแนะนำให้ส่งข้อความคุยกับคุณลูกค้าท่านนั้น ๆ ผ่านทางเพจ Facebook โดยตรงก่อนนะคะ เมื่อถึงเวลาทำการ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการส่งเรื่อง Error ที่แสดงผลให้ฝ่ายระบบทำการตรวจสอบต่อไป

ออกใบกำกับภาษีทำยังไง

ทางร้านสามารถออกใบกำกับภาษี ด้วยการกด “แก้ไข” ออเดอร์ จากนั้นเปิดแถบ “ออกใบกำกับภาษี” ได้เลย
คู่มือประกอบเพิ่มเติม: https://blog.shipnity.com/tax-invoice/

ทำไมสต็อกติดลบแล้วสั่งสินค้าเข้ามาได้

กรณีสต็อกสินค้าใน Shipnity ไม่มีสต็อกแต่ลูกค้าจากทาง Marketplace สามารถสั่งซื้อสินค้าเข้ามาได้ อาจมีสาเหตุมาจาก 

1. ออเดอร์ถูกสั่งเข้ามาในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน ทำให้ไม่สามารถอัพเดทสต็อกคงเหลือกลับไปได้อย่างเรียลไทม์
2. API ระหว่างการเชื่อมต่อ Marketplace และ Shipnity หลุดการเชื่อมต่อ ทำให้สต็อกไม่อัพเดทไปและลูกค้าสามารถกดสั่งซื้อสินค้าเข้ามาได้

สำหรับวิธีการแก้ไข แนะนำให้ทางร้านสามารถทำการเชื่อมต่อใหม่อีกครั้งเพื่อเป็นการรีเซ็ตการเชื่อมต่อ ได้ที่หน้าตั้งค่า > เชื่อมต่อระบบอื่น > Marketplace ที่ต้องการ > กดปุ่ม Log out / Log in ใหม่ 1 ครั้งได้เลย จากนั้นหากมีสต็อกเข้ามาเพิ่ม ต้องการจัดส่งของให้ลูกค้า สามารถกดเติมสต็อกใน Shipnity ได้เลย แต่ถ้าไม่มีของส่งให้คุณลูกค้า หลังจากทางร้านยกเลิกออเดอร์บน Marketplace แล้วจะมีการอัพเดทการยกเลิกออเดอร์มาลบออเดอร์ใน Shipnity ให้อัตโนมัติ

เพิ่มคลังแล้ว แต่ยังไม่สามารถใช้งานคลังสินค้าที่มาใหม่ได้

คุณลูกค้าสามารถตรวจสอบสิทธิ์การเข้าถึงคลัง ได้ที่หน้าตั้งค่า > ตั้งค่าผู้ใช้งาน > ช่องคลัง ให้คลิกที่ปุ่ม Dropdown จากนั้นเลือกติ้กเป็น “ทุกคลัง” หรือคลังที่ต้องการเข้าถึงได้เลย

เชื่อม Shopee / Lazada อีกร้านทำยังไง

ร้านค้าสามารถเพิ่มคลัง เพื่อใช้ในการเชือมต่อ Shopee Lazada ได้ตามแพ็กเกจ ตามคู่มือการเพิ่มคลังนี้: https://blog.shipnity.com/add-warehouse-new/ หลังจากนั้น ให้เข้าไปที่หน้า เชื่อมต่อระบบอื่น >> เชื่อมต่อช่องทางขาย และเลือกเชื่อมต่อ Shopee Lazada กับคลังใหม่ที่เพิ่มเข้ามาได้เลย

ออเดอร์ที่อนุมัติการโอนแล้วดูสลิปตรงไหน

สำหรับออเดอร์ที่ผ่านการอนุมัติสลิปมาเรียบร้อยแล้ว หากต้องการดูสลิปย้อนหลัง สามารถไปที่หน้าประวัติ > กด Dropdown เลือกหัวข้อ ‘ออเดอร์’ แถบเมนู ‘ข้อมูลทั่วไป’ สามารถค้นหาเลขที่ออเดอร์ จากนั้นเลื่อนไปขวาสุด แล้วกดคลิก “ลิงก์” ที่ช่อง Slip/logs ได้เลย

กดยืนยันการส่งของทั้งหมดได้ไหม

สามารถกดยืนยันการส่งของทุกรายการได้ ดังนี้ 

1. ไปที่หน้า “ออเดอร์”
2. เลือกสถานะ “ยืนยันออเดอร์”
3. จากนั้นจะขึ้น Pop-up ด้านขวามือล่าง ให้สามารถกด “ยืนยันทุกรายการ” ได้

พิมพ์ทุกรายการได้ไหม

สามารถกดพิมพ์ทุกรายการได้ ดังนี้ 

1. ไปที่หน้า “ออเดอร์”
2. เลือกสถานะ “พิมพ์ออเดอร์”
3. จากนั้นจะขึ้น Pop-up ด้านขวามือล่าง ให้สามารถกด “พิมพ์ทุกรายการ” และเลือกใบที่ต้องการพิมพ์ได้เลย

ตั้งค่าสิทธิ์แอดมินยังไง

ระบบ Shipnity มีฟังก์ชันการจัดการตำแหน่งและสิทธิ์ของผู้ใช้งาน โดยเจ้าของร้านสามารถเพิ่มอีเมลของแอดมินหรือพนักงานในร้านเข้ามาในระบบเดียวกันได้ และเลือกตำแหน่งให้อีเมลนั้น ๆ เพื่อเป็นการจำกัดสิทธิ์ตามตำแหน่ง ทั้งนี้ เจ้าของร้านจะต้องมีการตั้งค่าสิทธิ์ของแต่ละตำแหน่งไว้ก่อน ตามคู่มือนี้: https://blog.shipnity.com/manag-admins-new/ เพื่อให้สามารถจำกัดสิทธิ์ของอีเมลแอดมินหรือพนักงานตามตำแหน่งได้